รศ. วิยดา เทพหัตถี
การกำหนดชื่อให้กับพืชจะเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน
เป็นที่เข้าใจกันว่ามนุษย์คงจะพยายามตั้งชื่อสิ่งต่างๆ ขึ้นเพื่อช่วยในการจดจำ โดยเฉพาะพืชที่มีความใกล้ชิดและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์
เช่นพืชที่ใช้เป็นอาหาร เป็นยารักษาโรค พืชที่นำมาทำสิ่งของเครื่องใช้
ที่อยู่อาศัย และพืชที่เป็นอันตรายหรือเป็นพิษกับมนุษย์ ผู้ที่อยู่ในแต่ละประเทศ แต่ละถิ่นอาศัย
ต่างก็กำหนดชื่อพืชในถิ่นที่อยู่ของตนขึ้นมา เรียกว่า ชื่อพื้นเมือง ซึ่งอาจตั้งขึ้นมาซ้ำกันได้โดยไม่มีใครทราบ
ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความเจริญขึ้น มีการติดต่อถึงกันมากขึ้น ปัญหาและความสับสนในเรื่องชื่อพื้นเมืองจึงเกิดขึ้น
มากขึ้นและมากขึ้นเป็นลำดับ จนเป็นแรงผลักดันให้มีการคิดหาชื่อที่จะใช้เป็นสากลขึ้นมา
เพื่อให้ทุกชาติทุกภาษาทั่วโลกสามารถใช้ได้เหมือนกัน เมื่อกล่าวถึงชื่อพืช ชื่อใด ชื่อหนึ่งขึ้นมาแล้ว
ย่อมเป็นที่เข้าใจตรงกันว่า หมายถึงชนิดใด
ชื่อดังกล่าวนี้คือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) นั่นเอง
ก่อนศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 18 การกำหนดชื่อพืชมักใช้เป็นชื่อแบบหลายพยางค์หรือหลายคำ
เรียกว่า Polynomials ซึ่งค่อนข้างยาว เรียกยาก ไม่สะดวกในการใช้
จึงมีผู้พยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นชื่อแบบสองคำหรือสองพยางค์ ที่เรียกว่า
Binomials ซึ่งจะสะดวกต่อการใช้มากขึ้น ในที่สุดการเปลี่ยนแปลงใช้ชื่อแบบสองพยางค์นี้มาได้รับความสำเร็จใน
ค.ศ. 1753 โดย ลินเนียส นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนผู้มีผลงานทางอนุกรมวิธานมากมายทั้งด้านของพืชและสัตว์เรื่องของการกำหนดชื่อวิทยาศาสตร์
การใช้ชื่อและการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อวิทยาศาสตร์ จัดเป็นส่วนหนึ่งของอนุกรมวิธาน นอกเหนือไปจากการจัดจำแนกและการตรวจหาชื่อ
1. ชื่อพื้นเมือง (Vernacular name)
หมายถึง
ชื่อที่ใช้เฉพาะในประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือถิ่นใดถิ่นหนึ่งเท่านั้น เช่น ต้นกะเม็ง
ชื่อพื้นเมืองของไทยคือ กะเม็ง ชื่อพื้นเมืองของจีนเรียก
บังกีเช้า เป็นต้น ชื่อพื้นเมืองอาจแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ในภาคต่างๆ ของไทย อาจเรียกชื่อพืชชนิดเดียวกันแตกต่างไปหลายชื่อ ตัวอย่างเช่น
สบู่ดำ ในภาคเหนือเรียก มะเยา หรือ มะโห่ง แต่ภาคกลางเรียก สบู่ดำ หรือ สีหลอด ชื่อพื้นเมืองที่เรียกตามท้องถิ่นนี้เรียกอีกอย่างว่า
ชื่อท้องถิ่น (Local name)
2. ชื่อสามัญ (Common name)
หมายถึงชื่อที่ใช้เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งบางชื่ออาจดัดแปลงมาจากชื่อพื้นเมือง
เช่น
สบู่ดำ..........................Physic
Nut ขนุน..........................Jackfruit
มะพร้าว......................Coconut หูกวาง.......................Indian
Almond
3. ชื่อทางการค้า
(Trade name)
หมายถึง
ชื่อที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นที่เข้าใจตรงกันในด้านการค้าโดยเฉพาะ บางชื่ออาจเหมือนกับชื่อสกุล
หรือชื่อสามัญของพืชชนิดนั้นๆ เช่น
ไม้สัก..........................Teak
ปอกระเจา.................Tossa
Jute
มะขาม........................Tamarind
ปอแก้ว.....................Kenaf
เผือก..........................Taro
หน่อไม้ฝรั่ง...............Asparagus
มะเขือ........................Egg
Plant โสม..........................Ginseng
4. ชื่อพันธุ์
(Name of Cultivar)
พันธุ์ไม้บางชนิดที่นำมาปลูกเลี้ยงกัน
อาจมีลักษณะบางอย่างที่แปรเปลี่ยนไป เนื่องจากการกลายพันธุ์ การผสมพันธุ์ หรือการคัดพันธุ์
แต่ลักษณะเหล่านี้ยังไม่คงที่ เพราะบางครั้งอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นลักษณะเดิมได้อีก
ทางอนุกรมวิธานถือว่า ความแตกต่างนี้ยังไม่มากและคงที่พอที่จะกำหนดขึ้นมาเป็นระดับใหม่ที่ต่ำกว่าระดับชนิด (Varieties) จึงเรียกว่า Cultivated varieties หรือ
Cultivar ตัวอย่างเช่น
ถั่วเหลือง
พันธุ์ สจ.4 เฟื่องฟ้า
พันธุ์ สาวิตรี
ฝ้าย พันธุ์ ตากฟ้า พลูด่าง พันธุ์ ราชินีสีทอง
ทุเรียน พันธุ์ หมอนทอง ส้มโอ พันธุ์ ทองดี
โกสน พันธุ์ จันดารา
มะม่วง พันธุ์อกร่อง
5. ชื่อวิทยาศาสตร์
หมายถึง ชื่อที่กำหนดให้กับหมวดหมู่ในการจัดจำแนกทุกระดับชั้น เพื่อให้ใช้ได้เป็นสากล โดยมีกฎเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติในการกำหนดชื่อ และใช้ชื่อวางไว้เป็นมาตรฐานสากล
หมายถึง ชื่อที่กำหนดให้กับหมวดหมู่ในการจัดจำแนกทุกระดับชั้น เพื่อให้ใช้ได้เป็นสากล โดยมีกฎเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติในการกำหนดชื่อ และใช้ชื่อวางไว้เป็นมาตรฐานสากล
การกำหนดให้ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ขึ้นนี้
เพื่อแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนและสับสนในเรื่องชื่อพื้นเมืองและชื่อสามัญซึ่งเกิดขึ้นอยู่เสมอ
ความสำคัญของชื่อวิทยาศาสตร์มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในงานด้านต่างๆ อาทิ การเกษตร อุตสาหกรรม
การแพทย์ สถาปัตยกรรม ฯลฯ
พืชแต่ละชนิดจะมีชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องที่สุดของแต่ละระดับขั้นเพียงชื่อเดียวเท่านั้นและเป็นชื่อที่ใช้ภาษาลาตินเพียงอย่างเดียว
5.1 ชื่อวงศ (Family)'
ตามกฎให้ใช้ชื่อสกุลที่เป็นต้นแบบแล้วลงท้ายด้วย –aceae เช่น Malvaceae, Rosaceae, Commelinaceae มีข้อยกเว้นเฉพาะ 10 Family ซึ่งมีทั้งชื่อที่ถูกกฎและชื่อที่ไม่ถูกกฎ ซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่ยอมรับและคุ้นเคยกันมาก ได้แก่
5.1 ชื่อวงศ (Family)'
ตามกฎให้ใช้ชื่อสกุลที่เป็นต้นแบบแล้วลงท้ายด้วย –aceae เช่น Malvaceae, Rosaceae, Commelinaceae มีข้อยกเว้นเฉพาะ 10 Family ซึ่งมีทั้งชื่อที่ถูกกฎและชื่อที่ไม่ถูกกฎ ซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่ยอมรับและคุ้นเคยกันมาก ได้แก่
ชื่อที่ถูกกฎ
|
ชื่อที่ไม่ถูกกฎ
|
1. Fabaceae
|
Leguminosae
|
2. Mimosaceae
|
|
3. Caesalpiniaceae
|
|
4. Arecaceae
|
Palmae
|
5. Poaceae
|
Gramineae
|
6. Brassicaceae
|
Cruciferae
|
7. Clusiaceae
|
Guttiferae
|
8. Apiaceae
|
Umbelliferae
|
9. Lamiaceae
|
Labiatae
|
10. Asteraceae
|
Compositae
|
5.2
ชื่อสกุล (Genera)
การเขียนหรือพิมพ์ให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ และตามด้วยอักษรตัวเล็กเสมอ
เช่น
Bauhinia, Ficus, Rosa และ
Musa เป็นต้น
5.3
ชื่อชนิด (Species)
เป็นชื่อระดับที่มีความสำคัญมากที่สุด นำไปใช้และอ้างอิงมากกว่าชื่อวิทยา
ศาสตร์ในระดับอื่นๆ ชื่อชนิดต้องเป็นแบบ Binomials (สองคำหรือสองพยางค์)
โดยมีหลักสำคัญคือ
1.
ชื่อชนิดประกอบด้วยคำ
2 คำ เขียนหรือพิมพ์ห่างจากกันเล็กน้อย คำแรกเป็นชื่อสกุล คำหลังเป็นคำคุณศัพท์ระบุชนิด
(specific epithet) ซึ่งใช้อักษรตัวเล็กทั้งหมด เช่น
พุดตาน มีชื่อชนิดว่า Hibiscus mutabilis
Hibiscus
คือชื่อสกุล และ mutabilis เป็นคำคุณศัพท์ระบุชนิด
คำคุณศัพท์ระบุชนิด อาจมีที่มาต่างๆ กันดังนี้
ก. เป็นคำที่ใช้แสดงลักษณะเด่น
หรือลักษณะพิเศษบางอย่างของพืชชนิดนั้นๆ เช่น สี การมีขน
ความสวยงาม การใช้รับประทานได้ และการเป็นพิษ เป็นต้น ตัวอย่าง
Musa coccinea
|
รัตตกัทลี
|
เป็นกล้วยชนิดหนึ่งที่มีปลีสีแดงสด
|
Amherstia nobilis
|
โศกระย้า
|
เป็นไม้ต้นที่มีดอกสวยงามมาก
|
Colocasia esculenta
|
เผือก
|
พันธุ์ไม้ซึ่งมีหัวที่ใช้รับประทานได้อร่อย
|
Cassia fistula
|
ราชพฤกษ์
|
ไม้ต้นซึ่งมีฝักลักษณะคล้ายท่อ หรือเป็นแท่งยาวๆ
|
Ficus repens
|
ตีนตุ๊กแก หรือ มะเดื่อเถา
|
พันธุ์ไม้สกุลเดียวกับมะเดื่อ แต่ชอบเลื้อยเกาะ
|
Bougainvillea spectabilis
|
เฟื่องฟ้า
|
ไม้รอเลื้อยที่เด่นสะดุดตา เพราะความงามและสีสัน
|
Strelitzia reginae
|
ปักษาสวรรค์
|
พันธุ์ไม้ยืนต้นที่งามสง่าดังราชินี
|
ข. เป็นคำที่ใช้แสดงถึงประเทศ ท้องถิ่น
หรือสถานที่ที่พบพืชนั้นขึ้นอยู่
เช่น
Clerodendrum
ugandense
|
ผีเสื้อแสนสวย
|
ไม้พุ่มที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอูกันดา
|
Crinum
asiaticum
|
พลับพลึง
|
ไม้หัวที่มีอยู่ในเขตเอเชีย
|
Livistona
chinensis
|
ปาล์มจีน
|
ปาล์มชนิดหนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในประเทศจีน
|
Cassia
siamea
|
ขี้เหล็ก
|
ไม้ต้นซึ่งพบครั้งแรกในประเทศไทย
|
Crinum
thaianum
|
พลับพลึงธาร
|
ไม้หัวพวกพลับพลึงซึ่งพบครั้งแรกในประเทศไทย
|
Zoysia
japonica
|
หญ้าญี่ปุ่น
|
หญ้าสนามชนิดหนึ่งมีถิ่นกำเนิดในญี่ปุ่น
|
2. ท้ายชื่อชนิดต้องมีชื่อของนักพฤกษศาสตร์
ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ระชนิดของพืชชนิดนั้นๆ เช่น มะพร้าว
ลินเนียสเป็นผู้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Cocos nucifera ดังนั้นในการเขียนชื่อชนิดจึงต้องเขียนเป็น Cocos nucifera L. คือคำย่อนามสกุลของลินเนียส
3. ในการเขียนหรือพิมพ์ ต้องทำให้ชื่อชนิดมีความเด่นชัด แตกต่างจากข้อความอื่นๆ เช่น
พิมพ์ด้วยตัวเอน พิมพ์ตัวหนัก หรือขีดเส้นใต้ เป็นต้น
การขีดเส้นใต้นิยมขีดแยกเป็น 2 ช่วง
ส่วนชื่อนักวิทยาศาสตร์ไม่ต้องขีดเส้นใต้
เช่น Cocos nucifera L.
*
เอกสารนี้ใช้ประกอบการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเท่านั้น ห้ามทำซ้ำหรือ
ลอกเลียนแบบไม่ว่าส่วนใดส่วนหรือทั้งหมดของเอกสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น