คู่มือการทำป้ายชื่อพรรณไม้


การทำป้ายชื่อพรรณไม้
เรียบเรียงโดย: อรุณรัตน์ มีกิจเจริญโรจน์
หน่วยปฏิบัติการพฤกษศาสตร์ ฝ่ายวิชาการ อพ.สธ.
วัตถุประสงค์ของการทำป้ายชื่อพรรณไม้
        1. รู้จักวิธีการสืบค้นข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้อง
        2. ทำความรู้จักกับพรรณไม้ที่อยู่รอบตัว
        3. สามารถสัมผัส ใกล้ชิด และเกิดความรักต่อพืชพรรณ
ป้ายชื่อพรรณไม้ สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ
        1. ป้ายชื่อพรรณไม้ชั่วคราว เป็นสื่อการเรียนรู้ขั้นต้น ประกอบด้วย : หมายเลขรหัสพรรณไม้ (เฉพาะ 3 ตัวสุดท้าย) ชื่อพื้นเมือง (ชื่อที่เรียกกันในท้องถิ่นนั้นๆ) นอกจากนี้ยังอาจมีข้อมูลการใช้ประโยชน์ (อาจจะได้จากการศึกษาเอกสารอ้างอิง จากประสบการณ์ หรือสอบถามผู้รู้)

ป้ายชื่อพรรณไม้ชั่วคราว มีหมายเลขรหัส และชื่อพื้นเมือง 
ป้ายชื่อพรรณไม้ชั่วคราว มีหมายเลขรหัส ชื่อพื้นเมือง และประโยชน์
        2. ป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์ ประกอบด้วย : หมายเลขรหัสพรรณไม้ ชื่อพื้นเมือง ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ ชื่อสามัญ และประโยชน์ ป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์นี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อทะเบียนพรรณไม้ของโรงเรียนได้รับการตรวจสอบและแก้ไขจนถูกต้องแล้วจากนักพฤกษศาสตร์
จึงจะสามารถนำข้อมูลของชื่อพรรณไม้ที่ถูกต้องไปใส่ในป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์ได้ ดังนั้นหากว่าทะเบียนพรรณไม้ยังไม่ได้รับการตรวจสอบแก้ไข ทางโรงเรียนจะต้องจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ชั่วคราวไปก่อน
ป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์
องค์ประกอบของป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์
อย่างน้อยที่สุดป้ายชื่อพรรณไม้แต่ละป้ายต้องมีองค์ประกอบครบถ้วน ดังต่อไปนี้ :
        1. รหัสพรรณไม้ อยู่ทางมุมบนขวาของป้าย
        2. ชื่อพื้นเมือง
        3. ชื่อวิทยาศาสตร์
        4. ชื่อวงศ์
        5. ชื่อสามัญ
        6. ประโยชน์
(ถึงแม้ว่าบางหัวข้อจะไม่มีข้อมูล ก็ต้องใส่หัวข้อไว้แล้วใส่เครื่องหมาย ( ) ตามหลัง)
        นอกจากหัวข้อที่กำหนดข้างต้นนี้ (ซึ่งจะต้องมีครบถ้วน) แล้ว ผู้จัดทำป้ายพรรณไม้สามารถเพิ่มเติมหัวข้ออื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (ใส่ข้อมูลโดยสังเขป)นิเวศวิทยา การกระจายพันธุ์ การขยายพันธุ์ โทษ ฯลฯ
        ป้ายพรรณไม้ทุกป้ายของต้นไม้ทุกต้นจะต้องมีรูปแบบเดียวกัน คือ มีลำดับการเรียงหัวข้อเหมือนๆ กัน และหากมีการเพิ่มเติมหัวข้ออื่นๆ นอกเหนือไปจากหัวข้อหลัก ในป้ายพรรณไม้ทุกๆป้ายก็ต้องมีเหมือนๆ กัน (บางหัวข้อที่ไม่มีข้อมูล ก็ต้องใส่หัวข้อไว้ แล้วใส่เครื่องหมาย )
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของความหลากหลายของขนาด รูปร่างของป้าย วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ หรือการออกแบบ การตกแต่งป้าย ผู้จัดทำมีอิสระในการคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ แต่เน้นว่า ป้ายพรรณไม้ต้องมีความชัดเจน คงทน และมีข้อมูลที่ถูกต้อง
1. รหัสพรรณไม้
        ต้องเป็นรหัสตัวเลข 12 หลัก ประกอบด้วย รหัสกิจกรรมสร้างจิตสำ นึก (7) –รหัสไปรษณีย์ประจำท้องถิ่นของโรงเรียน รหัสสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน หมายเลขประจำต้นไม้แต่ละชนิด
ตัวอย่าง

2. ชื่อพื้นเมือง
        ใส่ชื่อพื้นเมืองตามที่เรียกกันในท้องที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่ พืชชนิดหนึ่งๆ สามารถมีชื่อพื้นเมืองได้หลายชื่อ ข้อพึงควรระวัง คือ หากชื่อพื้นเมืองที่เรียกกันในท้องถิ่นนั้นเป็นชื่อภาษาท้องถิ่นที่แปลก หากทราบว่าชื่อพื้นเมืองโดยทั่วไปหรือชื่อที่เรียกกันในภาคกลาง ควรจะใส่มาด้วย
เพื่อนักพฤกษศาสตร์ที่ตรวจสามารถทราบได้ว่าเป็นต้นอะไรกันแน่ (นักพฤกษศาสตร์จะทำการตรวจสอบความถูกต้องของชื่อพื้นเมืองตั้งแต่ตอนที่ตรวจทะเบียนพรรณไม้ โดยเปรียบเทียบชื่อกับภาพพรรณไม้ที่โรงเรียนแนบมาพร้อมทะเบียน ว่าชื่อกับต้นไม้ตรงกันหรือไม่) นอกจากนี้จะต้องระวังในเรื่องของการสะกดคำให้ถูกต้องด้วย
 3. ชื่อวิทยาศาสตร์ (= ชื่อพฤกษศาสตร์)
        ชื่อวิทยาศาสตร์ที่จะใส่ในป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์นั้นจะต้องอ้างอิงจากทะเบียนพรรณไม้ซึ่งได้รับการตรวจสอบแก้ไขจากนักพฤกษศาสตร์แล้ว
สำหรับพืชแต่ละชนิดนั้น ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องจะต้องมี :
        - มีครบ 3 ส่วน คือ ชื่อสกุล คำระบุชนิดและชื่อผู้ตั้ง
        - ชื่อสกุลเป็นตัวใหญ่
        - ชื่อสกุลและคำระบุชนิดเป็นตัวเอนหรือขีดเส้นใต้
        - ชื่อผู้ตั้งชื่อพรรณไม้ไม่เป็นตัวเอนหรือไม่ขีดเส้นใต้
4. ชื่อวงศ์
        ชื่อวงศ์ที่จะใส่ในป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์ ต้องอ้างอิงจากทะเบียนพรรณไม้ ซึ่งได้รับการตรวจสอบแก้ไขจากนักพฤกษศาสตร์แล้ว ชื่อวงศ์ที่ถูกต้องจะสามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ เขียนเป็นอักษรตัวตรงธรรมดา ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ แล้วตามด้วยพิมพ์เล็ก หรืออาจเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดก็ได้ ทั้งนี้ที่จะต้องระมัดระวังมากอีกเรื่องคือ ตัวสะกด
5. ชื่อสามัญ
        ชื่อสามัญเป็นชื่อภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่จำเป็นว่าพืชทุกชนิดต้องมีชื่อสามัญ โดยมากแล้วจะเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ หรือพืชการค้า ที่มีชื่อสามัญ 
        ชื่อสามัญนี้สามารถสืบค้นได้จากหนังสือ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์หรือจากเอกสารอ้างอิงอื่นๆ
        การเขียนชื่อสามัญให้เขียนเป็นตัวตรงธรรมดา ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ แล้วตามด้วยพิมพ์เล็ก ในกรณีที่มีมากกวา่ หนึ่งวรรคตอน วรรคที่สองอาจขึ้นต้นดว้ ยตัวพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็กก็ได
        นอกจากนี้จะต้องระมัดระวังในเรื่องการสะกดคำชื่อสามัญให้ถูกต้อง
6. ประโยชน์
        ข้อมูลการใช้ประโยชน์นั้นอาจจะได้มาจากประสบการณ์ จากการสอบถามผู้รู้ หรือจากการค้นเอกสารอ้างอิงต่างๆ ทั้งนี้จะต้องพึงระวังว่าข้อมูลที่ใส่มานั้นเป็นการใช้ประโยชน์จริงๆ ไม่ใช่เอาข้อมูลลักษณะวิสัย (มักจะพบเป็นข้อผิดพลาดบ่อยๆ ในป้ายชื่อพรรณไม้) หรือข้อมูลอื่นๆ มาใส่ต้องระมัดระวังด้วยว่าข้อมูลการใช้ประโยชน์นั้น ถูกต้องตรงกับชนิดของพรรณไม้

วัสดุอุปกรณ์สำหรับทำป้ายชื่อพรรณไม้
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำป้าย
        ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ผู้จัดทำมีอิสระให้การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในเรื่องของออกแบบรูปร่างและขนาดของป้ายชื่อพรรณไม้ วัสดุที่นิยมใช้ในการทำป้าย ได้แก่ กระดาษ แผ่นพลาสติก ฟิวเจอร์บอร์ด ไม้ เซรามิก ขวดหรือแกลลอนพลาสติก ฯลฯ ไม่ว่าจะเลือกใช้อะไรก็
ตาม สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงในการเลือกวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำป้าย คือ ความชัดเจน คงทน และความถูกต้องของข้อมูลบนป้ายตัวหนังสือบนป้าย ไม่ว่าใช้การพิมพ์หรือการเขียนด้วยลายมือจะต้องมีขนาดที่เหมาะสม ชัดเจน อ่านง่าย ไม่เลอะเลือนได้ง่ายไม่ถูกแดดหรือฝน ตัวอย่างเช่นหากเลือกใช้กระดาษทำป้าย จะต้องหุ้มหรือเคลือบด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวป้ายเปียกน้ำหรือตัวหนังสือเลอะเลือนไป เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น